*-*............*--*

ยินดีต้อนรับเข้าสู่การเรียนรู้ วิชาพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น บี่

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เนื้อหา หลักธรรม

วิชาธรรม
ธรรมศึกษา  ชั้นตรี

ทุกะ  หมวด 


ธรรมมีอุปการะมาก    อย่าง
                .  สติ  ความระลึกได้
                . สัมปชัญญะ  ความรู้ตัว
             สติวามระลึกได้  หมายความว่า  ก่อนจะทำจะพูด  คิดให้รอบคอบก่อน  แล้วจึงทำจึงพูดออกไป
                   สัมปชัญญะ  ความรู้ตัว  หมายความว่า  ขณะทำ  ขณะพูดมีความรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลา  ไม่ใช่ทำหรือพูดเรื่องหนึ่งใจคิดอีกเรื่องหนึ่ง
                   ธรรมทั้ง  นี้ช่วยรักษาจิตจากอกุศลธรรมและช่วยให้จิตประกอบด้วยกุศลธรรมทุกอย่าง เหมือนมหาอำมาตย์ผู้มีความรู้ความสามารถทำราชกิจทุกอย่างให้สำเร็จเรียบร้อยเพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าธรรมมีอุปการะมาก


ธรรมเป็นโลกบาล  คือคุ้มครองโลก    อย่าง
           ๑.  หิริ  ความละอายแก่ใจ
           ๒.  โอตตัปปะ  ความเกรงกลัว
          หิริ  ความละอายแก่ใจ  หมายความว่ารู้สึกรังเกียจทุจริต  มีกายทุจริต  เป็นต้น  เหมือนคนเกลียดสิ่งโสโครกมีอุจจาระ  เป็นต้น  ไม่อยากจับต้อง
              โอตตัปปะ  ความเกรงกลัว  หมายความว่า  สะดุ้งกลัวต่อทุจริตมีกายทุจริต  เป็นต้น
เหมือนคนกลัวความร้อนของไฟ  ไม่กล้าไปจับไฟ
              คนดีทั้งหลายย่อมเคารพตน    คือคิดถึงฐานะของตนมีชาติและตระกูลเป็นต้น ด้วยหิริ  ย่อมเคารพผู้อื่น คือคิดถึงเทวดาที่คุ้มครองรักษาตนเป็นต้น ด้วยโอตตัปปะแล้ว  งดเว้นจากการทำบาป  รักษาตนให้บริสุทธิ์  เพราะฉะนั้น  ธรรมทั้ง    นี้  จึงชื่อ  ธรรมคุ้มครองโลก และธรรมทั้ง ๒ ประการนี้ เรียกว่า เทวธรรม เพราะทำจิตใจของมนุษย์ให้สูงเยี่ยงเทวดา


ธรรมอันทำให้งาม    อย่าง
                 .  ขันติ  ความอดทน
                 .  โสรัจจะ   ความเสงี่ยม
       ขันติ  ความอดทน  หมายความว่า  ทนได้ไม่พ่ายแพ้  ความหนาว  ร้อน  หิว  กระหายทุกขเวทนา อันเกิดจากความเจ็บป่วย ความบาดเจ็บ ถ้อยคำด่าว่าเสียดสีดูถูกดูหมิ่น และการถูกทำร้าย
       โสรัจจะ  ความเสงี่ยม  หมายความว่า  เป็นผู้ไม่มีอาการผิดแปลกไปจากปกติประหนึ่งว่า  ไม่เห็น  ไม่ได้ยิน  ไม่รับรู้ความหนาว  ความร้อนเป็นต้นเหล่านั้น
              อนึ่ง  การไม่แสดงอาการเห่อเหิมจนเป็นที่บาดตาบาดใจคนอื่นเมื่อเวลาได้ดี  ก็ควรจัดเป็นโสรัจจะด้วย
              บุคคลผู้มีขันติและโสรัจจะ ย่อมประคองใจให้อยู่ในปกติภาพที่ดีอย่างสม่ำเสมอ ไม่พลุ่งพล่านหรือซบเซาในยามมีความทุกข์  ไม่เห่อเหิมหรือเหลิงในยามมีความสุข  เพราะฉะนั้น ขันติและ   โสรัจจะ  จึงชื่อว่า  ธรรมอันทำให้งาม


บุคคลหาได้ยาก    อย่าง
               .   บุพพการี  บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน
               .  กตัญญูกตเวที    บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว  และตอบแทน
         บุพพการี  บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน  หมายความว่า  เป็นผู้ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นโดยไม่คิดถึงเหตุ    ประการ  คือ  ๑.  ผู้นั้นเคยช่วยเหลือเรามาก่อน  ๒.  ผู้นั้นจะทำตอบแทนเราในภายหลัง  ยกตัวอย่าง  เช่น  บิดามารดาเลี้ยงดูบุตรธิดา  และครูอาจารย์สั่งสอนศิษย์เป็นต้น
             กตัญญูกตเวที  บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้วและตอบแทน  หมายความว่า  ผู้ได้รับการช่วยเหลือจากใครแล้วจดจำเอาไว้  ไม่ลืม  ไม่ลบล้าง  ไม่ทำลายจะด้วยเหตุใดก็ตาม  คอยคิดถึงอยู่เสมอ  และทำตอบแทนอย่างเหมาะแก่อุปการะที่ตนได้รับมา
              บุพพการี  ชื่อว่าหายาก  เพราะคนทั่วไปถูกตัณหาครอบงำ     คืออยากได้มากกว่า
อยากเสีย
              กตัญญูกตเวที   ชื่อว่าหายาก  เพราะคนส่วนมากถูกอวิชชา  ได้แก่กิเลสที่ทำลายความรู้  เช่นความโลภ  ความโกรธ  และความตระหนี่เป็นต้น ครอบงำ      คือปิดบังความรู้สึกที่ดี
นั้นเสีย       



ติกะ  คือ  หมวด 
รตนะ    อย่าง
       พระพุทธ    พระธรรม    พระสงฆ์ 
              .  ท่านผู้สอนให้ประชุมชนประพฤติชอบด้วย  กาย  วาจา  ใจ  ตามพระธรรมวินัยที่เรียกว่าพระพุทธศาสนา  ชื่อพระพุทธเจ้า
              ๒.  พระธรรมวินัยที่เป็นคำสอนของท่าน  ชื่อพระธรรม
              ๓.  หมู่ชนที่ฟังคำสั่งสอนของท่านแล้ว  ปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย ชื่อพระสงฆ์
             รตนะ  แปลว่า  สิ่งที่ให้เกิดความยินดี  หมายถึงสิ่งที่มีราคาแพง  เช่น  เพชร  พลอย  ทองคำ  หรือสิ่งอื่นใดก็ตามที่ชาวโลกเขานิยมกัน   หรือของวิเศษ  เช่น   รตนะ      อย่าง     ของพระเจ้าจักรพรรดิ คือ  ช้างแก้ว ม้าแก้ว ขุนพลแก้ว  ขุนคลังแก้ว  นางแก้ว  จักรแก้ว  แก้วมณี
              พระพุทธเจ้า  พระธรรม  และพระสงฆ์  ทรงจัดว่าเป็นรตนะ  เพราะเป็นผู้มีค่ามากโดยตนเองเป็นผู้สงบจากบาปแล้ว  สอนผู้อื่นให้ละชั่วประพฤติชอบ  ถ้าคนในโลกไม่ละชั่วประพฤติชอบแล้ว  สิ่งมีค่าทั้งหลายก็จะกลายเป็นศัตรูนำภัยอันตรายมาสู่ตนเอง  เพราะฉะนั้น  พระพุทธเจ้า
พระธรรม  และพระสงฆ์  จึงชื่อว่า  รตนะ  คือเป็นสิ่งที่มีค่า  น่ายินดี

คุณของรตนะ    อย่าง
       พระพุทธเจ้ารู้ดีรู้ชอบด้วยพระองค์เองก่อนแล้ว  สอนผู้อื่นให้รู้ตามด้วย
       พระธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว
       พระสงฆ์   ปฏิบัติชอบตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว    สอนให้ผู้อื่นกระทำตามด้วย


โอวาทของพระพุทธเจ้า    อย่าง
        ๑.  เว้นจากทุจริต  คือประพฤติชั่วด้วยกาย  วาจา  ใจ
        ๒.  ประกอบสุจริต  คือประพฤติชอบ  ด้วยกาย  วาจา  ใจ
        ๓.  ทำใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองใจ มีโลภ โกรธ หลง  เป็นต้น

ทุจริต    อย่าง
        ๑.  ประพฤติชั่วด้วยกาย      เรียกกายทุจริต
        ๒.  ประพฤติชั่วด้วยวาจา    เรียกวจีทุจริต
        ๓.  ประพฤติชั่วด้วยใจ        เรียกมโนทุจริต
        กายทุจริต    อย่าง ฆ่าสัตว์    ลักฉ้อ    ประพฤติผิดในกาม 
            วจีทุจริต    อย่าง   พูดเท็จ    พูดส่อเสียด    พูดคำหยาบ    พูดเพ้อเจ้อ 
            มโนทุจริต    อย่างโลภอยากได้ของเขา    พยาบาทปองร้ายเขา    เห็นผิดจากคลองธรรม 
  ทุจริต  (ความประพฤติชั่ว)    อย่างนี้ เป็นสิ่งไม่ควรทำ  ควรละเสีย


สุจริต    อย่าง
       ๑.  ประพฤติชอบด้วยกาย     เรียกกายสุจริต
       ๒.  ประพฤติชอบด้วยวาจา   เรียกวจีสุจริต
       .  ประพฤติชอบด้วยใจ       เรียกมโนสุจริต
          กายสุจริต     อย่างเว้นจากฆ่าสัตว์    เว้นจากลักฉ้อ    เว้นจากประพฤติผิดในกาม 
          วจีสุจริต    อย่างเว้นจากพูดเท็จ    เว้นจากพูดส่อเสียด    เว้นจากพูดคำหยาบ    เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ 
          มโนสุจริต    อย่างไม่โลภอยากได้ของเขา    ไม่พยายามปองร้ายเขา    เห็นชอบตามคลองธรรม  สุจริต  (ความประพฤติชอบ)    อย่างนี้  เป็นกิจควรทำ  ควรประพฤติ

อกุศลมูล    อย่าง
         รากเหง้าของอกุศล  เรียกอกุศลมูล  มี    อย่าง  คือ โลภะ  อยากได้ ๑  โทสะ       คิดประทุษร้ายเขา     โมหะ  หลงไม่รู้จริง 
         เมื่ออกุศลทั้ง    นี้  ก็ดี  ข้อใดข้อหนึ่งก็ดีมีอยู่ในใจ  อกุศลอื่นที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้นที่เกิดแล้วก็เจริญมากขึ้น  เหตุนั้น  จึงชื่อว่า  อกุศลมูล  คือรากเหง้าของอกุศล  ท่านสอนให้ละเสีย

กุศลมูล    อย่าง
              รากเหง้าของกุศล    เรียกกุศลมูล    มี       อย่าง  คือ     อโลภะ     ไม่อยากได้     อโทสะ    ไม่คิดประทุษร้ายเขา    อโมหะ  ไม่หลง 
              เมื่อกุศลทั้ง    นี้  ก็ดี  ข้อใดข้อหนึ่งก็ดีมีอยู่ในใจ  กุศลอื่นที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้นที่เกิดขึ้นแล้วก็เจริญมากขึ้น  เหตุนั้น  จึงชื่อว่ากุศลมูล  คือรากเหง้าของกุศล  ท่านสอนว่า  ควรให้เกิดขึ้นในใจอย่างต่อเนื่อง
 


สัปปุริสบัญญัติ  คือข้อที่ท่านสัตบุรุษตั้งไว้    อย่าง
           ๑.  ทาน  สละสิ่งของของตน  เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น
           ๒.  ปัพพัชชา   ถือบวช   เป็นอุบายเว้นจากการเบียดเบียนกันและกัน
           ๓.  มาตาปิตุอุปัฏฐาน  ปฏิบัติมารดา  บิดาของตนให้เป็นสุข
           สัตบุรุษ    แปลว่าคนดีมีความประพฤติทางกาย  วาจาและใจอันสงบ   กายสงบ   คือเว้นจากกายทุจริต    วาจาสงบ  คือเว้นจากวจีทุจริต      ใจสงบ    คือเว้นจากมโนทุจริต  ๓ และเป็นผู้ทรงความรู้
               ทาน  แปลว่า  การให้  หมายถึงการให้สิ่งของของตน  มีข้าว  น้ำเป็นต้น  แก่บุคคลอื่นด้วยวัตถุประสงค์    อย่าง  คือ  ๑.  เพื่อบูชาคุณของผู้มีคุณความดี  เช่นการทำบุญแก่พระสงฆ์เป็นต้น    เพื่อช่วยเหลือบุคคลผู้ขาดแคลน  เช่นการช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นต้น
               ปัพพัชชา  แปลว่า  การถือบวช  หมายถึง  นำกายและใจออกห่างจากกามคุณอันเป็นเหตุแห่งการเบียดเบียนกัน  แม้ผู้เป็นฆราวาสจะทำเช่นนี้บางครั้งบางคราวก็เกิดประโยชน์ได้
                มาตาปิตุอุปัฏฐาน  แปลว่า  การปฏิบัติบิดาและมารดา  หมายถึงการเลี้ยงดูท่าน ช่วยท่านทำงาน  รักษาชื่อเสียงวงศ์ตระกูล  รักษาทรัพย์มรดก  และเมื่อท่านถึงแก่กรรมทำบุญให้ท่าน


บุญกิริยาวัตถุ    อย่าง สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญ  เรียกบุญกิริยาวัตถุ   โดยย่อมี    อย่าง
            .  ทานมัย  บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
            .  สีลมัย   บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
            .  ภาวนามัย  บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
            บุญ  มีความหมาย    ประการ  คือ  .  เครื่องชำระสิ่งที่ไม่ดีที่นอนเนื่องอยู่ในใจ   ๒.  สภาพที่ก่อให้เกิดความน่าบูชา
           บุญนั้นเป็นสิ่งที่ควรทำ  จึงชื่อว่า  บุญกิริยา  บุญที่ควรทำนั้น  เป็นที่ตั้งแห่งสุขวิเศษ  จึงชื่อว่า  บุญกิริยาวัตถุ
               ทาน  คือเจตนาที่เสียสละสิ่งของ  หมายถึง  เสียสละเพื่อทำลายกิเลสคือความโลภ
ในใจของตน
           ศีล  คือเจตนาที่ตั้งไว้ดีโดยห้ามกายกรรมและวจีกรรมที่มีโทษ  แล้วให้สมาทานกรรมดีไม่มีโทษและเป็นที่ตั้งของกุศลธรรมชั้นสูง  มีสมาธิและปัญญาเป็นต้น
              ภาวนา   คือ  เจตนาที่ทำให้กุศลเจริญ  หมายความว่า  ทำกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นและทำกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้เพิ่มพูนมากขึ้น




จตุกกะ  คือ  หมวด 

วุฑฒิ  คือ  ธรรมเป็นเครื่องเจริญ    อย่าง
     ๑.  สัปปุริสสังเสวะ  คบท่านผู้ประพฤติชอบด้วยกาย  วาจา  ใจ  ที่เรียกว่า  สัตบุรุษ
     ๒.  สัทธัมมัสสวนะ  ฟังคำสอนของท่านโดยเคารพ
     ๓.  โยนิโสมนสิการ  ตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีหรือชั่วโดยอุบายที่ชอบ
     ๔.  ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ  ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมที่ได้ตรองเห็นแล้ว
             วุฑฒิ  คือธรรมเป็นเครื่องเจริญ  หมายความว่า  ถ้าทางคดีโลก  ก็เป็นเหตุให้เจริญด้วย  วิชาความรู้  ทรัพย์สินเงินทองและคุณความดี  ถ้าเป็นคดีธรรมก็เป็นเหตุให้เจริญด้วยศีล  สมาธิ  และปัญญา
             สัตบุรุษ  คือ  คนดีมีความรู้ดังได้อธิบายแล้วในสัปปุริสสบัญญัติ
             การคบ  คือ  การเข้าไปหาคนดีด้วยมุ่งหวังจะซึมซับเอาความดีจากท่านมาสู่ตน ฟังคำสอนของท่านโดยเคารพ  คือให้ความสำคัญต่อคำสอนและผู้สอน    ไม่ใช่ฟัง พอเป็นมารยาท  ไม่สนใจที่จะนำเอาไปปฏิบัติ
            โยนิโสมนสิการ  คือ  พิจารณาด้วยปัญญาถึงสิ่งที่ท่านสอนว่า  ชั่วนั้นชั่วจริงไหม  และที่ท่านสอนว่า  ดีนั้นดีจริงไหม  ชั่ว  คือเป็นเหตุให้เกิดทุกข์เกิดโทษ  ดี  คือเป็นเหตุให้เกิดประโยชน์เกิดความสุข  ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น

        ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ  คือ ๑.   ธัมมะ  หมายถึง  เป้าหมายที่ตั้งเอาไว้  ๒.  อนุธัมมะ  หมายถึง  วิธีการที่จะทำให้บรรลุถึงเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ ๓.  ปฎิปัตติ  หมายถึง    การปฏิบัติ  คือการลงมือทำรวมกันแล้วเป็น  ธัมมานุธัมมปฏิบัติ  ท่านแปลว่า    ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมที่ได้ตรองเห็นแล้ว  ยกตัวอย่างเช่น  นักเรียนต้องการจะมีงานทำที่ดี  นักเรียนจะต้องขยันเอาใจใส่  ตั้งใจเรียน  ไม่เอาแต่เที่ยวเตร่เสเพล

 


จักร 
        ๑.  ปฏิรูปเทสวาสะ  อยู่ในประเทศอันสมควร
        ๒.  สัปปุริสูปัสสยะ  คบสัตบุรุษ
        ๓.  อัตตสัมมาปณิธิ  ตั้งตนไว้ชอบ
        ๔.  ปุพเพกตบุญญตา  ความเป็นผู้ได้กระทำความดีไว้ในปางก่อน
              จักร  หรือ  บางแห่งเรียกว่า  จักรธรรม  แปลว่า  ธรรมที่เปรียบเหมือนล้อรถอันสามารถนำพาชีวิตของผู้ปฏิบัติตามไปสู่ความเจริญทั้งทางโลกและทางธรรม
              การอยู่ในประเทศอันสมควร  หมายถึง  อยู่ในสังคมของคนที่มีศีลธรรม  มีความรู้
              การคบสัตบุรุษ  มีอธิบายเหมือนในวุฑฒิธรรม
     การตั้งตนไว้ชอบ  หมายถึง  ประพฤติตนในศีลธรรมเคารพกฎหมายบ้านเมือง  รักษาวัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงาม
             ปุพเพกตบุญญตา  ความเป็นผู้ได้กระทำความดีไว้ในปางก่อน  หมายถึง  ได้สร้างเหตุแห่งประโยชน์และความสุขไว้ในชาติก่อน  ปีก่อน  เดือนก่อน  หรือวันก่อน  เช่นนักเรียนตั้งใจเรียนในวันนี้  จะเป็นเหตุให้ได้หน้าที่การงานที่ดีในวันหน้า  เป็นต้น


อคติ 
       ๑.  ลำเอียง  เพราะรักใคร่กัน  เรียกฉันทาคติ
       ๒.  ลำเอียง  เพราะไม่ชอบกัน  เรียกโทสาคติ
       ๓.  ลำเอียง  เพราะเขลา  เรียกโมหาคติ
          .  ลำเอียง  เพราะกลัว  เรียกภยาคติ

        อคติ    ประการนี้  ไม่ควรประพฤติ   อคติ  แปลว่า  การถึงฐานะที่ไม่ควรถึง  ท่านแปลเอาใจความว่า  ความลำเอีย ในสิคาลสูตรตรัสเรียกว่า  เหตุให้ทำบาป  บาปธรรมทั้ง    นี้โดยมากเกิดกับผู้มีอำนาจ

              คนที่ตนรัก   ผิดก็หาทางช่วยเหลือไม่ลงโทษ  ไม่มีความรู้  ความสามารถ  ก็แต่งตั้งให้เป็นใหญ่ เป็นต้น  ชื่อว่ามีฉันทาคติ
              คนที่ตนเกลียด  คอยจ้องจับผิด  คอยขัดขวางความเจริญก้าวหน้าและทำลายล้างเป็นต้น   ชื่อว่ามีโทสาคติ
              ไม่รู้ข้อมูลที่แท้จริง  ทำโทษหรือยกย่องคนไปตามคำบอกเล่าของผู้ประจบสอพลอ  เป็นต้น   ชื่อว่ามีโมหาคติ
              หวังเกาะผู้มีอำนาจ กลัวเขาจะไม่ช่วยเหลือจึงทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องอันผิดกฎหมายผิดศีลธรรม  เป็นต้น   ชื่อว่ามีภยาคติ
              ผู้ประพฤติอคติ    ประการนี้  ย่อมเป็นผู้ไร้เกียรติ    ดังพระพุทธพจน์ว่า   ผู้ล่วงละเมิดธรรมเพราะความรัก  ความชัง  ความหลง  และความกลัว  เกียรติยศของผู้นั้นย่อมเสื่อมจากใจคน  เหมือนดวงจันทร์ข้างแรม



ปธาน  คือความเพียร    อย่าง
             ๑.  สังวรปธาน  เพียรระวังบาปไม่ให้เกิดขึ้นในสันดาน
             .  ปหานปธาน  เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
                    .  ภาวนาปธาน  เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน
                    .  อนุรักขนาปธาน  เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม
                 ความเพียร  ๔ อย่างนี้  เป็นความเพียรชอบควรประกอบให้มีในตน
                 ปธาน  เป็นชื่อของความเพียรที่แรงกล้าไม่ย่นย่อท้อถอย  ดังพระพุทธพจน์ว่า แม้เนื้อและเลือดในร่างกายจะเหือดแห้งไป  เหลืออยู่แต่หนัง  เอ็น  และกระดูกก็ตาม  เมื่อยังไม่บรรลุผลที่จะพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของลูกผู้ชาย  ความหยุดยั้งแห่งความเพียรจะไม่มี
                 ความเพียรมีอย่างเดียวแต่ทำหน้าที่    อย่าง  คือ   ๑.  เพียรระวังความชั่วที่ยังไม่เคยทำ  ไม่เคยพูด  ไม่เคยคิด  อย่าให้เกิดขึ้น    เพียรละความชั่วที่เคยเผลอตัวทำ  พูดและคิดมาแล้ว  โดยจะไม่ทำอย่างนั้นอีก  ๓. เพียรสร้างความดีที่ยังไม่เคยทำ ไม่เคยพูด  ไม่เคยคิด  ๔.  เพียรรักษาความดีที่เคยทำ  เคยพูด  เคยคิดมาแล้ว  โดยการทำ  พูด  และคิดความดีนั้นบ่อย ๆ


อธิษฐานธรรม ๔ คือธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ    อย่าง
                ๑.  ปัญญา  รอบรู้สิ่งที่ควรรู้
                ๒.  สัจจะ  ความจริงใจ  คือประพฤติสิ่งใดก็ให้ได้จริง
                ๓.  จาคะ  สละสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความจริงใจ
                        .  อุปสมะ  สงบใจจากสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความสงบ
                อธิษฐานธรรม  ท่านแปลว่า  ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ  หมายความว่า  ให้แสวงหาธรรมทั้ง    นี้มาเก็บไว้ในใจตน  โดยการฝึกฝนปฏิบัติตามให้ได้  จะทำให้เป็นคนมีค่าแก่สังคม  และมีความสุขใจแก่ตนเองด้วย
                ปัญญา  รอบรู้สิ่งที่ควรรู้  ในทางธรรมหมายถึง  รู้สภาวธรรม  มีขันธ์เป็นต้นตามความจริงว่า  ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป  ไม่ควรไปยึดมั่นถือมั่นให้เกิดทิฎฐิมานะ  แบ่งชั้นวรรณะ  เป็นต้น  ในทางโลกหมายถึงรู้เหตุแห่งความเสื่อมและความเจริญ       ตลอดถึงรู้วิชาการต่าง ๆ   อันเป็นเหตุเกิดของทรัพย์  เกียรติ  และความสุข  เป็นต้น
                สัจจะ  ความจริงใจ  หมายความว่า  รู้ว่าอะไรไม่ดีก็ละให้ได้จริง  รู้ว่าอะไรดีมีประโยชน์ก็ตั้งใจทำให้ได้จริง  สัจจะนี้นำความดีทุกชนิดมาสู่ตน  ดังโพธิสัตว์ภาษิตว่า สมณพราหมณ์ทั้งหลายข้ามพ้นชราและมรณะได้  เพราะตั้งอยู่ในสัจจะ
               จาคะ  สละสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความจริงใจ  หมายความว่า  รู้จักกลับตัวกลับใจจากความไม่ดีทั้งหลายที่เคยทำ  เคยพูด  เคยคิด  และเคยยึดติดมาก่อน 
               อุปสมะ  สงบใจจากสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความสงบ  หมายความว่า  รู้จักดับความขุ่นข้องหมองใจ  ความวิตกกังวลต่าง ๆ   อันเกิดจากกิเลสมีนิวรณ์    เป็นต้น


อิทธิบาท  คือ  คุณเครื่องให้สำเร็จความประสงค์    อย่าง
           ๑.  ฉันทะ  พอใจรักใคร่ ในสิ่งนั้น
           ๒.  วิริยะ  เพียรประกอบสิ่งนั้น
           ๓.  จิตตะ  เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ
           ๔.  วิมังสา  หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น
              คุณ    อย่างนี้  มีบริบูรณ์แล้วอาจชักนำบุคคลให้ถึงสิ่งที่ต้องประสงค์  ซึ่งไม่เหลือวิสัย
              อิทธิ  แปลว่า  ความสำเร็จ  บาท  หรือ  ปาทะ  แปลว่า  เหตุที่ทำให้ถึง  อิทธิบาท จึงแปลว่า  เหตุที่ให้ถึงความสำเร็จ  หมายถึง  เหตุที่มีกำลังในการบรรลุความสำเร็จ
              ฉันทะ  คือ  ความปรารถนา  ความต้องการ  ความประสงค์  หวามมุ่งหมาย  เมื่อต่อเข้ากับอิทธิบาท  จึงมีความหมายว่า  ความปรารถนา  ความต้องการ  ความประสงค์  ความมุ่งหมายที่มีกำลังในการบรรลุความสำเร็จ
              อิทธิบาท   คือ  ฉันทะ   ย่อมพาเอาความคิดจิตใจทั้งหมดไปรวมอยู่กับสิ่งที่ปรารถนา
ที่พอใจ   เหมือนกระแสน้ำที่ไหลมาอย่างแรง  ย่อมพัดพาเอาต้นไม้   กอไผ่   กอหญ้า     เป็นต้น
ไปกับกระแสน้ำด้วย  วิริยะอิทธิบาท  จิตตะอิทธิบาท  และวิมังสาอิทธิบาท      ก็มีอธิบายเหมือน
อย่างนี้
              วิริยะ  คือ  ความอาจหาญในการงาน  ย่อมสำคัญงานใหญ่ว่างานเล็ก  งานหนักว่างานเบา  งานยากว่างานง่าย  ทางไกลว่าทางใกล้  เป็นต้น
              จิตตะ  คือ  ความคิดถึงการงานนั้น  แบบใจจดใจจ่อ  เปรียบเหมือนคนกระหายน้ำจัด  ใจคิดถึงแต่น้ำตลอดเวลา
              วิมังสา  ความไตร่ตรอง  ใช้ปัญญาพิจารณาหาเหตุผลและวิธีการที่จะทำงานนั้นให้สำเร็จลงให้ได้
 


ควรทำความไม่ประมาทในที่    สถาน
              ๑.  ในการละกายทุจริต  ประพฤติกายสุจริต
              ๒.  ในการละวจีทุจริต  ประพฤติวจีสุจริต
              ๓.  ในการละมโนทุจริต   ประพฤติมโนสุจริต
              ๔.  ในการละความเห็นผิด  ทำความเห็นให้ถูก

อีกอย่างหนึ่ง
              .  ระวังใจไม่ให้กำหนัด  ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
              .  ระวังใจไม่ให้ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง
              .  ระวังใจไม่ให้หลงในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง
              .  ระวังใจไม่ให้มัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา
ความประมาท  คือความขาดสติอันก่อให้เกิดผลเสีย    ประการ  คือ
              .  ให้เกิดการทำความชั่ว
              .  ให้หลงลืมทำความดี
              .  ไม่ทำความดีอย่างต่อเนื่อง
              ความไม่ประมาท  คือความมีสติกำกับใจอยู่เสมอ ให้เกิดความคิดเป็นกุศล  ดังนี้
              .  ไม่ทำความชั่ว
              .  ไม่ลืมทำความดี
              .  ทำความดีให้ดียิ่งขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง
เมื่อสรุปคำสอนทั้ง    นัย  นี้  ย่อมได้ความไม่ประมาท    ประการ  คือ
              .  ระวังอย่าไปทำความชั่ว
              ๒.  อย่าลืมทำความดี
              ๓.  อย่าปล่อยใจให้ไปคิดเรื่องบาปเรื่องอกุศล

พรหมวิหาร 
              ๑.  เมตตา  ความรักใคร่  ปรารถนาจะให้เป็นสุข
              .  กรุณา  ความสงสาร  คิดจะช่วยให้พ้นทุกข์
              .  มุทิตา  ความพลอยยินดี  เมื่อผู้อื่นได้ดี
              .  อุเบกขา  ความวางเฉย    ไม่ดีใจ  ไม่เสียใจ  เมื่อผู้อื่นถึงความวิบัติ
              คำว่า  พรหม  แปลว่า  ประเสริฐ  เป็นใหญ่  โดยบุคคลาธิษฐาน  หมายถึง  บุคคลผู้อยู่ด้วยฌานสมาบัติ  ไม่ยุ่งเกี่ยวเรื่องกามารมย์  โดยธรรมาธิษฐาน  หมายถึงจิตใจที่ประกอบด้วย
เมตตา  กรุณา  มุทิตา  อุเบกขา  หรือดับนิวรณ์ได้
              พรหมวิหาร  แปลว่า  ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม  หรือผู้ประเสริฐ  ผู้เป็นใหญ่
              ความรักด้วยความปรารถนาดี  คือต้องการให้เขามีความสุข  โดยไม่มีความใคร่อยากจะได้อะไรจากเขามาเป็นของตน  ชื่อว่า  เมตตา
              ความเอื้อเฟื้อ  ความเอาใจใส่  ความห่วงใยต่อผู้ตกทุกข์ประสพภัย  อดอยากหิวโหย  เป็นต้น  เข้าช่วยเหลือ  ด้วยกำลังกายและทรัพย์  ชื่อว่า  กรุณา
              ความยินดีด้วยกับบุคคลที่ได้ลาภ  ได้ยศ  ได้เกียรติ  ได้รับความสำเร็จในอาชีพการงาน  เป็นต้น  ชื่อว่า  มุทิตา
              ความวางเฉย  คือมีใจเป็นกลาง  ไม่ดีใจเมื่อผู้ที่เป็นศัตรูแก่ตน  ประสบทุกข์ภัยอันตราย  และได้รับความวิบัติ   ไม่เสียใจเมื่อผู้ที่ตนรัก  ประสบทุกข์  เป็นต้นนั้น  ในเมื่อตนได้ช่วยเหลืออย่างเต็มที่แล้ว แต่ช่วยไม่ได้   ชื่อว่า  อุเบกขา


อริยสัจ 
            ๑.  ทุกข์  ความไม่สบายกาย  ไม่สบายใจ
            ๒.  สมุทัย  คือเหตุให้ทุกข์เกิด
            ๓.  นิโรธ  คือความดับทุกข์
            ๔.  มรรค  คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
              ความไม่สบายกาย  ไม่สบายใจ  ได้ชื่อว่าทุกข์  เพราะเป็นของทนได้ยาก ตัณหา    คือความทะยานอยาก  ได้ชื่อว่า  สมุทัย  เพราะเป็นเหตุให้ทุกข์เกิด ตัณหานั้น  มีประเภทเป็น    คือ 
                    ตัณหา  ความอยากในอารมณ์ที่น่ารักใคร่  เรียกว่ากามตัณหาอย่าง     
                    ตัณหาความอยากเป็นโน่นเป็นนี่  เรียกว่าภวตัณหาอย่าง 
                    ตัณหาความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่   เรียกว่าวิภวตัณหาอย่าง 
              ความดับตัณหาได้สิ้นเชิง  ทุกข์ดับไปหมดได้ชื่อว่า  นิโรธ  เพราะเป็นความดับทุกข์
              ปัญญาอันเห็นชอบว่าสิ่งนี้ทุกข์  สิ่งนี้เหตุให้ทุกข์เกิด  สิ่งนี้ความดับทุกข์  สิ่งนี้ทางให้ถึงความดับทุกข์  ได้ชื่อว่า  มรรค  เพราะเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
              มรรคนั้นมีองค์    ประการ  คือ  ปัญญาอันเห็นชอบ    ดำริชอบ    เจรจาชอบ    ทำการงานชอบ    เลี้ยงชีวิตชอบ    ทำความเพียรชอบ     ตั้งสติชอบ    ตั้งใจชอบ 
              อริยสัจ  แปลว่า  ความจริงอันประเสริฐ  หมายความว่า  เป็นความจริงที่หนีไม่พ้น  เช่นความแก่  ความตาย  เป็นต้น    มนุษย์ทุกรูปทุกนามเกิดมาแล้วสุดท้ายต้องแก่  และต้องตายทั้งสิ้น  หรือเป็นกฎเกณฑ์ที่แน่นอน  คือ  เมื่อดับตัณหาได้ความทุกข์ทั้งหลายก็ดับไป  และตัณหานั้นก็มีวิธีดับโดยการปฏิบัติตามมรรคมีองค์ 
             ทุกข์  ท่านให้ความหมายว่า  ความไม่สบายกาย  ไม่สบายใจ  อธิบายว่า  ทุกข์ในอริยสัจ  ต่างจากทุกข์ในสามัญลักษณะ  ทุกข์ในอริยสัจหมายเอาทุกข์ที่เกิดกับสิ่งที่มีวิญญาณครอง  โดยเฉพาะคือมนุษย์  เช่น  แก่  เจ็บ  ตาย  ผิดหวัง  เป็นต้น  ส่วนทุกข์ในสามัญลักษณะ หมายถึงสภาพที่ทนอยู่ไม่ได้ เพราะถูกสิ่งที่เป็นข้าศึกกันเบียดเบียนทำลาย  เช่นผิวคล้ำเพราะถูกแสงแดด  อาคารบ้านเรือนเก่า  เพราะถูกแดดและฝน  ตลิ่งพังเพราะถูกน้ำเซาะ  เป็นต้น  ส่วนอริยสัจข้ออื่น ๆ   มีอธิบายชัดเจนแล้ว